กสทช.

มติโหวต กสทช. ไฟเขียวควบทรู-ดีแทค ออกมาไม่เอกฉันท์ ท่ามกลางเสียงค้าน ของกลุ่มผู้บริโภค

กสทช. รับทราบ” “ทรู-ดีแทค” ควบรวมกิจการ โดดยอยู่ภายใต้เงื่อนไข และมาตราการเฉพาะ เพื่อลดผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นต่อผู้บริโภค ด้านแกนหลักคัดค้านการควบรวม “สภาองค์กรของผู้บริโภค” ได้ออกมาแสดง ความรู้สึกผิดหวัง ต่อมติจของ กสทช. และได้ยื่นคำร้องขอ ให้ไต่สวนฉุกเฉิน และให้มีคำสั่ง คุ้มครองชั่วคราว ก่อนที่จะมีประกาศคำพิพากษา

อีกทั้งยัง ร้อง ป.ป.ช. คณะกรรมการคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ด้วยเหตุที่ว่า “ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ” ของกรรมการ กสทช. โดยในตอนนี้ได้ดำเนินการ ให้ทนายความ เร่งทำคำร้อง เอกสารข่าวเผยแพร่ของกสทช. ระบุว่า นับตั้งแต่เวลา 9.30 น ที่ประชุมบอร์ดใช้เวลากว่า 11 ชั่วโมง กว่าจะได้ข้อยุติ

กสทช.

ควบรวมทรู-ดีแทค ยึดประโยชน์สาธารณะหรือเอกชน

บอร์ด ทรู มีมติควบรวบ ดีแทค โดยตั้งบริษัทใหม่ทำคำเสนอซื้อหุ้นโดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไข วิเคราะห์ประเด็นที่ต้องจับตา ถ้าดีลแสนล้าน ทรู-ดีแทค เป็นจริง สฤณี-ธันยวัชร์ คิดอย่างไรหลังอ่านหนังสือ “ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว” ของเจ้าสัวธนินท์

“ที่ประชุมเสียงข้างมาก (ประธาน กสทช. และ กสทช. ต่อพงศ์ฯ) มีมติเห็นว่าการรวมธุรกิจในกรณีนี้ ไม่เป็นการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549”

เอกสารข่าวเผยแพร่ระบุ “อนึ่ง เนื่องจากการลงมติที่ประชุมดังกล่าวข้างต้นมีคะแนนเสียงเท่ากัน ดังนั้น ประธานที่ประชุมได้ใช้อำนาจตามข้อ 41 ของระเบียบ กสทช. ว่าด้วยข้อบังคับการประชุม กสทช. พ.ศ. 2555 ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด”

ส่วนสภาองค์กรของผู้บริโภค บอกว่า “เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ว่า กสทช. ไม่มีอำนาจ เนื่องจากประธานได้ส่งไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ และได้รับการยืนยันมาแล้วว่าเป็นอำนาจของ กสทช. เพราะฉะนั้นสภาองค์กรของผู้บริโภคไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากเดินหน้าฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้คุ้มครองฉุกเฉินเพื่อยับยั้งการควบรวมในครั้งนี้ นอกจากนั้นก็จะเดินหน้าร้องต่อ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการกับ กสทช. ที่อนุญาตให้ควบรวมในครั้งนี้ด้วย”

มติเสียงข้างมาก คือประธาน และนายต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เสียงข้างน้อยคือ ศาสตราจารย์ ดร. พิรงรอง รามสูต กรรมการด้านกิจการโทรทัศน์ รองศาสตราจารย์ ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย ส่วนผู้งดออกเสียง คือ พลอากาศโท ดร. ธนพันธ์ หร่ายเจริญ เนื่องจากยังมีประเด็นปัญหาการตี ความในแง่กฎหมาย จึงยังไม่สามารถพิจารณาได้อย่างชัดเจน โดยจะขอทำบันทึกในภายหลัง

ผลของการรับทราบการควบรวมดังกล่าวของ กสทช. ส่งผลให้ราคาหุ้นทั้งของทรูและดีแทค รวมทั้งคู่แข่งอย่าง เอไอเอส ปรับขึ้นในช่วงเช้าที่ผ่านมา โดย ณเวลา 13.00 น. หุ้นของดีแทค ราคาปรับขึ้นไปที่ 46.5 บาทต่อหุ้น บวก 0.50 บาทต่อหุ้น ส่วนหุ้นของทรู ราคาปรับขึ้นไปที่ 5.15 บาทต่อหุ้น บวก 0.05 บาทต่อหุ้น หุ้นแอดวานซ์หรือเอไอเอส ราคาปรับขึ้นไปที่ 189.50 บาทต่อหุ้น บวก 0.50 บาทต่อหุ้น

ด้านนักวิเคราะห์หุ้นหลายสำนัก เช่น บล. เอเชียพลัส บล. เมล์แบงก์ และ บล. กสิกรไทย มองว่า การแข่งขันมีแนวโน้มลดลง หากการควบรวมมีผลสำเร็จ เนื่องจากฐานลูกค้าจากดีลควบรวมจะเพิ่มเป็น 53.6 ล้านราย จากจำนวนผู้เล่นในตลาดลดลงจาก 3 ราย เหลือ 2 ราย

การไฟเขียวที่หลายฝ่ายค้าน

มติไม่เอกฉันท์ของ กสทช. มีขึ้นท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของภาคประชาสัมคม ที่ปักหลักสังเกตการณ์ที่สำนักงาน กสทช. ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา น.ส. สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้สัมภาษณ์ก่อนแถลงข่าว ผลการพิจารณาการควบรวมกิจการทรู-ดีแทค ว่า คาดหวังว่าผลที่ออกมาจะเป็นบวกต่อผู้บริโภค

เนื่องจากผลการควบรวมกิจการครั้งนี้ ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ไม่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) แต่จะเกิดความเสียหายกับผู้บริโภค 80 ล้านเลขหมายนั้นมีมาก จึงอยากให้ กสทช. ตัดสินใจบนผลประโยชน์ของประชาชน “อยากให้ กสทช. กลไกหรือกติกาที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้ให้บริการสามารถใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ร่วมกันมากขึ้นเพื่อลดต้นทุน

แต่ที่ผ่านมา กสทช. อาจจะยังไม่มีการบังคับอย่างชัดเจน และควรที่จะทำให้ทรูและดีแทค แข่งขันกับเอไอเอสให้มากขึ้น” น.ส. สารีกล่าว เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ยังกล่าวอีกว่า หากมติ กสทช. เป็นไปในแนวทาง “รับทราบ” รายงานการควบรวมกิจการ ที่ผู้ประกอบการได้นำเสนอมา ในฐานะภาคประชาชนจะขอใช้สิทธิในการดำเนินคดีต่อ กสทช

ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเข้าข่ายปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต นอกจากนี้ยังมีกฎหมายให้มอบอำนาจใหักับ สภาองค์กรผู้บริโภคสามารถดำเนินคดีได้ หากพบว่ามีการละเมิดสิทธิผู้บริโภค

เหตุแห่งการคัดค้านการควบรวมทรู-ดีแทค

สำหรับกรณีที่บริษัท ทรู คอร์เปอร์เรชั่น (จำกัด) มหาชน และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมิวนิเคชั่น (จำกัด) มหาชน มีความประสงค์ควบรวมบริษัท ผ่านการจะปรับโครงสร้างธุรกิจ และจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่และคาดว่าจะมีการเข้าไปถือหุ้น 10% ในบริษัทลูก คือ บริษัท ทรูมูฟเอช จำกัด และ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด

ซึ่งทั้งสองบริษัทเป็นผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน ภาคประชาชนและนักวิชาการหลายสถาบันมองว่าขัดต่อกฏหมายมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกาศ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

เรื่อง มาตรการ เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 จึงแสดงความเห็นคัดค้านการควบรวมกิจการครั้งนี้

นอกจากนี้ การควบรวมนี้จะทำให้บริษัทใหม่มีส่วนแบ่งในตลาดเกินกว่า 50% ทำให้กิจการมีอำนาจเหนือตลาดโดยทันที อีกทั้งทำให้คู่แข่งในตลาดสัญญาณมือถือและอินเทอร์เน็ตลดลงจากสามรายใหญ่เหลือสองรายใหญ่ คือ บริษัทใหม่หลังการควบรวม และ บริษัท เอไอเอส ที่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันมากกว่า 97%

ก้าวไกล-ก้าวหน้า แนะรัฐบาลหาผู้ซื้อใหม่แทนเทเลนอร์

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า พร้อมด้วย น.ส. ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคและ ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ร่วมสังเกตการณ์การลงมติเรื่องดังกล่าวของ กสทช. โดยร่วมแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการควบรวมทรู-ดีแทค เช่นเดียวกันกับภาคประชาสังคมที่มาร่วมจับตาผลการลงมติ

ที่จะเกิดขึ้นในวันนี้ เขาระบุถึงงานวิจัยหลายชิ้นจากทั้งองค์กรภายนอกและที่ กสทช. จ้างศึกษา และกรณีที่เคยเกิดขึ้นในต่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าการควบรวมที่จะทำให้เหลือผู้เล่นในตลาดโทรคมนาคมเพียง 2 รายจาก 3 ราย อาจทำให้ค่าบริการแพงขึ้น ส่งผลเสียต่อผู้บริโภครวมทั้งการพัฒนาภาคโทรคมนาคมในประเทศไทย

“ปัจจุบันประชาชนที่รับส่งข้อมูลผ่านคลื่นความถี่โทรคมนาคมมีแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน หากการเข้าถึงข้อมูลที่ลดลงจากค่าบริการที่แพงขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่น้อยลงของผู้มีรายได้น้อยด้วย” เขาระบุ

นอกจากนี้ ประธานคณะก้าวหน้ายังเสนอว่ายังมีทางเลือกอื่น ๆ แทนที่จะทำให้เกิดการควบรวบกิจการดังกล่าว แม้ว่านี่เป็นส่วนหนึ่งการที่ บริษัท เทเลนอร์ มีมติให้บริษัทถอนตัวออกจากตลาดในประเทศไทย เช่นเดียวกันกับในหลายประเทศในเอเชีย

เขาแนะนำว่า หากรัฐบาลเห็นว่าธุรกิจโทรคมนาคมเป็นธุรกิจยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาระบบ 5G รัฐบาลมีส่วนในการหาผู้เล่นรายใหม่ หรือเจรจากับผู้ซื้อต่างชาติ เข้ามาซื้อหุ้นของเทเลนอร์ในไทย เมื่อเห็นว่าเป็นผลประโยชน์ของสาธารณะและปกป้องประชาชนจากการภาวะผูกขาดทางการค้า โดยไม่ต้องใช้กลไกของ กสทช.

อย่างไรก็ตาม หาก กสทช. มีมติอนุมัติให้มีการควบรวม นายธนาธรเรียกร้องให้มีมาตรการป้องกันและรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค และมีการส่งเสริมให้เกิด MVNO (Mobile Virtual Network Operators) หรือผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายของตัวเอง หรือไม่ก็ มีมาตรการให้ผู้ประกอบการที่ควบรวมคืนคลื่นความถี่บางส่วนออกมาให้เกิดการประมูลใหม่

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : snapcaledononline.com