ทารก

เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว คำนี้เป็นคำเปรียบที่หลายๆ คนคุ้นเคย

ซึ่งการเปรียบเทียบนี้ ค่อนข้างเป็นความจริง เพราะเด็กนั้น มีศักยภาพมากพอ ที่จะได้ซึมซับและเรียนรู้สิ่งใดก็ได้ โดยเฉพาะการเรียนรู้ในภาษาต่างๆ ได้ดีและรวดเร็วกว่าผู้ใหญ่นั้นเอง แต่ไม่คงไม่เคยมีใคร รู้มาก่อน ว่าเด็กเริ่มเรียนรู้ในส่วนของภาษา ได้ทันทีหลังจากเกิดขึ้นมาลืมตาดูโลก ในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง

ทีมผู้เชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัย Bangor University ในสหราชอาณาจักร ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ได้ตีพิมพ์ งานวิจัยเหล่านี้ลงในวารสาร Nature Human Behavior โดยเนื้อหาใจความนั้น ระบุได้ว่า เด็กแรกเกิดนั้น มีความสามารถแยกแยะเสียงได้ ตั้งแต่ยังอยูในครรภ์ของมารดา และมีความสนใจ กับเสียงที่เป็นศัพท์ในภาษาต่างๆ มากกว่าเสียงที่ไม่มีความหมาย

และมากไปกว่านั้น ทางทีมวิจัยยังค้นพบว่า บริเวณสมองของเด็กแรกเกิด จะเริ่มมีการเรียนรู้ภาาษาได้จากเสียงรอบกาย ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 5 ชั่วโมง หลังจากคลอด จากการวิจัยและทดลองนั้น ได้มีการสวมเครื่องมือ ที่มีรูปทรงคล้ายๆ หมวกให้เด็กแรกเกิด โดยอุปกรณ์นี้ จะใช้แสงอินฟราเรดในการวัดระดับ ค่าออกซิเจยในสมอง เพื่อทำการตรวจสอบ การเคลื่อนไหว ของการทำงานในส่วนต่างๆ ของสมอง

ทารก

ขณะที่ทารกได้ยินเสียงสระแบบปกติ และเสียงสระแบบออกเสียงถอยหลังอย่างผิดปกติ ไปจากภาษาในชีวิตประจำวัน

ผลปรากฏว่าภายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังคลอด ทารกยังไม่สามารถแยกแยะเสียงสระทั้งสองแบบนี้ได้ แต่ในเวลาต่อมาที่ 5 ชั่วโมงหลังคลอด สมองของเด็กแรกเกิดเริ่มส่งสัญญาณตอบสนองต่อเสียงสระแบบปกติได้ไวกว่าและชัดเจนกว่า และในอีก 2 ชั่วโมงต่อมา พบการตอบสนองต่อเสียงสระในภาษาปกติได้รวดเร็วและชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเทียบกับเสียงที่ไม่เป็นภาษา ซึ่งแสดงถึงการพัฒนาความสามารถในการแยกแยะเสียงและเรียนรู้ภาษาของทารกแรกเกิดในเวลาอันสั้น

นอกจากนี้ยังมีการทดลองแยกแยะเสียงกับทารกแรกเกิดที่อยู่ในห้องเงียบ โดยจะไม่ได้ยินเสียงใดเลยตลอดช่วงเวลา 3 ชั่วโมงหลังคลอด ซึ่งภายหลังปรากฏว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถแยกแยะเสียงสระในภาษาพูดได้รวดเร็วเท่ากลุ่มแรก ซึ่งได้รับการกระตุ้นด้วยเสียงที่เป็นภาษาทันทีหลังคลอด

ทีมผู้วิจัยยังพบว่ากลีบสมองส่วนหน้าและสมองกลีบขมับส่วนบน ซึ่งเป็นส่วนที่ประมวลผลเสียงสระและช่วยในการทำความเข้าใจภาษาของสมองซีกซ้าย ทำงานอย่างแข็งขันในทารกกลุ่มที่ได้ยินเสียงตั้งแต่แรกเกิด ทั้งยังมีการสื่อสารระหว่างสมองส่วนต่าง ๆ ข้ามกันไปมา แต่จะไม่พบปรากฏการณ์นี้ในเด็กกลุ่มที่ไม่ได้ยินเสียงหลังคลอด

ทีมผู้วิจัยสรุปว่า ทารกแรกเกิดจะได้รับประโยชน์โดยตรง จากการที่พ่อแม่และคนรอบข้างพูดกับเขาในทันทีที่ลืมตาดูโลกและพยายามพูดคุยใช้ภาษาด้วยบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีในด้านต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ภาษาและการแสดงออกของทารก

ในช่วง 3 ปีแรก เด็กจะมีพัฒนาการด้านการรับรู้และแสดงออกทางด้านภาษากับคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ในช่วงแรกเริ่มในครรภ์จึงส่งผลให้สามารถตอบสนองในสิ่งที่ได้ยินมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทารกยังไม่สามารถแสดงออกได้มากเท่าการเรียนรู้และจดจำในสิ่งที่ได้ยินจากคุณพ่อคุณแม่

เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่ 6-9 เดือน เด็กจะเริ่มส่งเสียง อ้อแอ้ เป็นช่วงที่เด็กกำลังเริ่มหัดใช้ภาษาและพัฒนาการต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถพูดเป็นคำได้ในอนาคต คุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมทักษะของลูกน้อยได้โดยสื่อสารกับลูกน้อยเป็นประจำ ลูกจะจดจำและเกิดการเรียนรู้เมื่อพบว่าตัวเองมีคู่สนทนาตรงหน้า คุณแม่ควรเน้นพูดประโยคสั้นๆ ไม่ยาวเกินไป

และเว้นจังหวะเพื่อให้ลูกได้ตอบสนองคุณแม่บ้างค่ะ จริงๆ แล้วคุณแม่สามารถคุยกับลูกได้ทุกเวลา ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า เวลาลูกทานข้าว คุณแม่อาจพูดคำว่า “หม่ำๆ” ลูกจะเข้าใจว่านี่เป็นเวลาทานข้าว หรือเวลาอาบน้ำ คุณแม่อาจพูดว่าอาบน้ำขณะทอดเสื้อผ้าลูกอยู่ หรืออุ้มพาเขาไปที่กระมังอาบน้ำ นอกจากนี้คุณแม่สามารถใช้ของเล่นมาเป็นตัวช่วยแสดงท่าทางประกอบ

เพื่อกระตุ้นการรับรู้และตอบสนองทางภาษาของคุณแม่ได้อย่างชัดเจนขึ้น แต่คุณแม่ไม่ควรพูดคำเดิมบ่อยๆ หรือให้ลูกเล่นกับของเล่นเดิมๆ เพราะเมื่อลูกรับรู้ในสิ่งนั้นจนคุ้นชิน ลูกจะไม่รู้สึกตื่นกับอะไรใหม่ๆ แล้ว คุณแม่ควรเปลี่ยนคำพูด หรือหยอกล้อเล่นด้วยท่าทางใหม่ๆ เปลี่ยนของเล่นชิ้นใหม่เพื่อเปิดโลกทัศน์และกระตุ้นการการสร้างพัฒนาการใหม่ๆ ให้ลูกรู้สึกตื่นตาตื่นใจเพื่อให้เค้าอยากมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นต่อไป

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com / mamypoko.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : snapcaledononline.com